“วันเข้าพรรษา : ทางไทย ทางธรรม ตอน เทียนพรรษา พระอารามหลวง และ วัดราษฎร์”

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #36 : วันเข้าพรรษา : ทางไทย ทางธรรม ตอน เทียนพรรษา พระอารามหลวง และ วัดราษฎร์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วตอนที่ 35: วันเข้าพรรษา : ทางไทย ทางธรรม เราได้พาทุกท่านไปทำรู้จักกับความเป็นมาของ “วันเข้าพรรษา” ……บรรยากาศ ฝน…ฝน ชุ่มฉ่ำ วันนี้เราจะไปรู้จัก “เทียนพรรษา” “พระอารามหลวง-วัดหลวง” และ “วัดราษฏร์” ในจังหวัดขอนแก่น ด้วยกันนะ…

—————————————————————–

ในยุค พุทธกาล ยังไม่มีไฟฟ้า ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์ ใช้จุดให้แสงสว่าง ในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชา ตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี โดยชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้งแล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็กๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วใช้จุดบูชาพระ

การถวายเทียนจำนำพรรษาได้กระทำขึ้นก่อนเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ ก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือ เดือน 8 ที่สอง ในกรณีที่มีอธิกมาส พุทธศาสนิกชนก็จะชวนกัน ถวายเทียนพรรษาแก่วัดในท้องถิ่นของตน ยังกุศลส่งกลับมา ตามศรัทธา พลังแห่งตน

เทียนเข้าพรรษา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.เทียนหลวง หมายถึง เทียนที่ทำขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 8 นิ้ว
2.เทียนน้อย หมายถึง เทียนเล็ก คือขนาดโตกว่าเทียนไขธรรมดาเล็กน้อย แต่ก็จัดว่ามีขนาดใหญ่กว่าธรรมดาแล้ว

ประเพณีเข้าพรรษาสามารถแบ่งออกเป็น ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร ดังนี้

ประเพณีหลวง เรียกเป็นทางการว่า “การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา”ประเพณีนี้พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง และเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัยเฉพาะพระอารามหลวงที่สำคัญ นอกนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์

ประเพณีราษฎร เรียกกันว่า “เทียนจำนำพรรษา” หรือ “เทียนพรรษา” ประเพณีนี้ประชาชนเป็นผู้หล่อเทียนจำนำพรรษา ปัจจุบันเทียนพรรษามี 2 ชนิด คือ เทียนพรรษาแบบจุดได้ กันเทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้ เทียนพรรษาแบบจุดไม่ได้นี้จะไม่มีไส้ มีแต่ไม้หรือเหล็กกันเทียนหัก เพราะทำขึ้นมาเพื่อประกวด หรือถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น

การถวายเทียนพรรษามีการจำแนกออกเป็น ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร กันแล้ว ที่นี้เรามาทำความรู้จักกับ วัดหลวง และวัดราษฏร์ กันบ้างนะ

พระอารามหลวง-วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้าง หรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง ในจังหวัดขอนแก่นมีวัดหลวง จำนวน 4 แห่ง คือ วัดธาตุ วัดหนองแวง วัดศรีจันทร์ และวัดป่าแสงอรุณ

วัดราษฎร์ ได้แก่ วัดที่ประชาชนสร้าง หรือปฏิสังขรณ์ ในจังหวัดขอนแก่น เช่น วัดโพธิ์ชัย วัดมารวิชัย วัดราษฎร์นิยม เป็นต้น

ก่อนลากัน อย่าลืมมาเเวะที่……ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าโอทอป ขอนแก่น ที่มีสินค้าให้เลือกมากมายหลากหลาย

แนะนำ น้ำจิ้มเนื้อย่างโชคดี จากร้านเนื้อย่างโชคดี ที่ได้รับการตอบรับอย่างมากมายจากลูกค้าหน้าร้าน…จนเกิดการพัฒนามาเป็น น้ำจิ้มโชคดีในขวด ที่สามารถนำไปทานได้ทุกที่…และวัตถุดิบในการทำน้ำจิ้มมาจากแหล่งชุมชนในจังหวัดขอนแก่น

และ ขอแนะนำ แจ๋วรสแซ่บ ที่เมื่อใครจะไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง หรือนำไปเป็นของฝาก แจ๋วบองกระปุก โดยมี 2 รสชาติให้เลือก คือ แจ๋วบองผสมก้างปลา-เติมแคลเซียม และแจ๋วบองเนื้อปลาล้วน จัดเป็นของฝากจากอีสาน ที่แซ่บนัว..ถูกใจ คัก เด้อ….

—————————————————————–

ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ กันได้….ในตอนต่อไป
….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *