วันเข้าพรรษา : ทางไทย ทางธรรม (ตอนที่ 1)

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #35 : วันเข้าพรรษา : ทางไทย ทางธรรม (ตอนที่ 1)

เมื่อเข้าช่วงฤดูฝน………ฤดูกาล… มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวพุทธ ท้องทุ่งเจิ่งนอง น้ำท่าบริบูรณ์ พระพุทธองค์ จึงมีกุศโลบาย ให้พระภิกษุ จำพรรษาอยู่ประจำที่ ตลอด 3 เดือน ชาวพุทธ จึงมีกิจกรรม ในห้วงเวลานี้ อาทิ การทำบุญเข้าพรรษา การแห่เทียนพรรษา เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ วันเข้าพรรษา……ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว กันนะ

—————————————————————–

วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาท จะอธิษฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” โดย วันเข้าพรรษา ปี 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8

วันเข้าพรรษา หรือ เข้าพรรษา แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

– ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

– ปัจฉิมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

อย่างไรก็ตาม หากมีกิจธุระ คือ เมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า “สัตตาหะ” หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่า “พรรษาขาด”

ทั้งนี้ ได้มีข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
4. หากมี กิจนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้

ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวาย “ผ้าอาบน้ำฝน” สำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา…

พุทธศาสนิกชน จึงถือเอาวันเข้าพรรษานี้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

อีกประเพณีสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ คือ “ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา” ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า-เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญา หูตาสว่างไสวตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน

โดยกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชน มักจะทำในช่วงเข้าพรรษาได้แก่

– กิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
– กิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร span>
– ทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
– อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

สำหรับตอนต่อไป เราจะพาทุกท่านไปรู้จัก วัดเก่าแก่ วัดคู่บ้าน คู่เมือง ….ของจังหวัดขอนแก่น ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน…
ก่อนลากัน อย่าลืมมาเเวะที่……ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าโอทอป ขอนแก่น ที่มีสินค้าให้เลือกมากมายหลากหลาย
แนะนำ เครื่องดื่มสมุนไพรม่านทิพย์ ดื่มเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เเข็งแรงและพร้อมเผชิญกับสิ่งเเวดล้อมในทุกรูปแบบ เป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ อย่างเช่น ขมิ้นชัน และตะไคร้ผง ทานง่ายๆ เพียงชงกับน้ำร้อนก็สามารถนำมาดื่มชื่นใจได้ทันที และสามารถถวาย เป็นปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร ได้อีกด้วย

และ อีกหนึ่ง ของติดกายชิ้นสำคัญ ของคนยุคนี้ คือ สายคล้องแมส จากฝีมืองานปั้นดินของชาวขอนแก่น ทุกชิ้นจิ๋ว ล้วนมีความหมาย สายคล้องยาว 65 เซนติเมตร งานฝีมือ ที่ทรงคุณค่า ใช้เอง เป็นของฝาก เป็นคุณค่าทางใจ ประเมินค่าเกินคำบรรยาย……

—————————————————————–

ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ กันได้….ในตอนต่อไป
….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *