“โนนศิลา : เรืองรองทองอร่าม จากเนิน ถึงขอบฟ้า”

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #17 : โนนศิลา : เรืองรองทองอร่ำม จำกเนิน ถึงขอบฟ้า

( อำเภอลำดับที่ 16 ใน 26 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น )

ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา แต่ก่อนนั้นมี “เขาศิลาทราย” เกิดขึ้นกลางลำห้วยแคน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านโนนศิลาในปัจจุบัน เมื่อมองดู ยามอรุณรุ่ง-พระอาทิตย์กำลังขึ้น หรือยามอัสดง-อาทิตย์ลับขอบฟ้า จะมองเห็นเป็นสีเหลืองทองอร่าม

ต่อมาเขาศิลาทรายนั้น ถูกน้ำในลำห้วยแคนพัดหายไป คนเฒ่าคนแก่จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน ณ บริเวณดังกล่าวว่า “บ้านโนนศิลา” โดยตั้งเป็นหมู่บ้าน เมื่อราวปี 2440

ปี 2532 “บ้านโนนศิลา” มีผู้อยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น จึงได้มีการยกฐานะเป็น ตำบลโนนศิลา แยกการปกครองออกจากตำบลเปือยใหญ่ อำเภอบ้านไผ่ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457

จนกระทั่งในปี 2538 กระทรวงมหาดไทย จึงแยกออกจาก อำเภอบ้านไผ่ แบ่งการปกครองออกจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอโนนศิลา ลงในประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี 2539 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปี 2539

วันที่ 8 กันยายน ปี 2550 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ “กิ่งอำเภอ เป็น อำเภอโนนศิลา” จนถึงปัจจุบัน

อำเภอโนนศิลา อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดขอนแก่น ราว 65 กิโลเมตร พื้นที่ราว 182 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรอาศัยอยู่ราว 26,707 คน

—————————————————————–

ชวนกันไปสัมผัส ดินแดนแห่ง แสงสีทองเหลืองอร่าม จุดที่น่าสนใจ ของอำเภอนี้ ล้วนมีความสำคัญ เชิงประวัติศาสตร์ ความร่มเย็น เกิดจากความเชื่อมโยง ของ ชุมชน-วัด-วิถีชุมชน พร้อมแล้ว เชิญ ไปด้วยกัน……

วัดระหอกโพธิ์: การก่อตั้งบ้านระหอกโพธิ์ หมู่ที่ 6 เมื่อปี 2483 มีประชาชนกลุ่มหนึ่ง มาตั้งบ้านอยู่ตามหัวไร่ปลายนา บุกเบิกที่ทำกินอยู่เป็นเวลาหลายปี ต่อมามีผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยมากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างถาวรนับจากนั้นเป็นต้นมา สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ระหอกโพธิ์” เนื่องจากมีทางสามแพ่งและต้นไม้ใหญ่คือ ต้นโพธิ์ อยู่บริเวณหมู่บ้านเป็นเนินมีแหล่งน้ำเป็นคลองน้ำ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ระหอกโพธิ์” และเนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนจึงเกิดการ ก่อตั้ง วัดระหอกโพธิ์ในปี 2502 มีความสำคัญทางด้านจิตใจ และเป็นศูนย์ร่วมใจของชาวบ้าน นอกจากนี้ เมื่อ ปี 2560 มีการทำถนนภายในชุมชน พบ พระพุทธรูปโบราณเป็นจำนวนมาก จึงนำมารวบรวมกันไว้ที่ วัดระหอกโพธิ์ ก่อนที่จะนำไปส่งมอบไว้ที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น”

บ้านหนองหว้า ชุมชนนวัตวิถี: จากความรักความสามัคคีของคนในชุมชน จนได้รับรางวัล บ้านสวยเมืองสุข ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ไปทำความรู้จัก และท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของบ้านหนองหว้า ที่นี่…มีฐานการเรียนรู้ ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ตั้งแต่การปลูกผัก ไปจนถึงกระบวนการเก็บ และยังมีการเลี้ยงกบเพื่อนำไปจำหน่าย มีแปลงผักอีก 107 แปลง ของหมู่บ้าน ให้ได้ไปชมกันด้วย

สินค้าที่สำคัญอีกอย่าง คือ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ และ ตะกร้าจักรสานจากวัสดุเหลือใช้ ที่อยากท้าให้ลอง คือ อาหารเลิศรส ที่คาดว่า เป็น “ตัวเอก“ ใครได้ชิม เป็นต้องติดใจ คือ หอยสามรส เป็น “หอยเชอรี่” ที่เก็บมาจากท้องนา อันเป็นตัวอันตรายของต้นข้าว นำมาปรุง จนมีรสกลมกล่อม อาหารจานเด็ด จานนี้ ช่วยให้ต้นข้าว ในนา เติบโต อย่างเตมที่ อีกด้วย

สถานีรถไฟบ้านหัน: อายุยาวนาน มาแล้วกว่า 89 ปี ที่ต้องทำการรื้อถอน เนื่องจากมีการขยายเส้นทางรถไฟรางคู่ จิระ-ขอนแก่น ทำให้อาคารสถานีรถไฟบ้านหันแห่งนี้ จะต้องถูกทุบทิ้ง เพราะกีดขวางเส้นทางการก่อสร้าง ทางอำเภอโนนศิลาจึงร่วมกับประชาชนในพื้นที่ มีมติร่วมกันที่จะอนุรักษ์สถานีรถไฟบ้านหันนี้ไว้ เพื่อเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์การคมนาคมของประเทศไทย จึงมีการเคลื่อนย้ายอาคารที่ทำการสถานีรถไฟมาตั้งไว้ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอ พร้อมกับบูรณะซ่อมแซม ปรับแต่งภูมิทัศน์โดยรอบให้มีบรรยากาศเหมือนกับสถานีรถไฟมากที่สุด มีการออกแบบใช้เป็นห้องสมุดประชาชน เพื่อบริการประชาชนที่มาติดต่อราชการ ให้เป็นที่พักผ่อนและอ่านหนังสือนอกจากนั้น ยังมีการจัดเป็นนิทรรศการเล่าเรื่องด้วยภาพ และจัดเป็น “ตลาดแลง” ให้นักท่องเที่ยวได้เดิน ชมสินค้าจากชุมชนอีกด้วย

—————————————————————–

สินค้า จากอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ที่วางจำหน่ายภายใน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าโอทอป ขอนแก่น

กลุ่มน้ำผึ้งป่าไพรภิรมย์ เริ่มก่อตั้ง กลุ่มทำน้ำผึ้ง ปี 2547 จากความรักในการเดินป่า จนเกิดเป็นอาชีพ “ตีผึ้ง” เป็นคำที่ใช้ ในการหารังผึ้งแท้จากธรรมชาติ เพื่อนำมาทำเป็นน้ำผึ้งออกจำหน่าย ผู้นำกลุ่มเป็นสาวแกร่ง-คุณรำญวน มนตรี วัย 56 ปี ช่วยกันกำหนดแผนการตลาด การนำน้ำผึ้งออกวางจำหน่ายไปยัง ร้านค้าต่างๆ จนเป็นการเลี้ยงชีพ จวบจนปัจจุบัน

จากพื้นที่ ธรรมชาติ ของอำเภอโนนศิลา อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ และแหล่งน้ำ ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ คือ ป่าโคกห้วยทราย จึงมี “ผึ้ง” ทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก เอื้อ เกื้อกูลกัน เพราะ อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่ตื้น และเป็นพื้นที่ ที่มีดอกไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จนทำให้ ป่าโคกห้วยทราย มีผึ้งทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก และผึ้งมักจะทำรังในแต่ละช่วงต่างตำแหน่งกันออกไป คือ ฤดูที่มีลมพัดมาก หรือฤดูหนาผึ้งมักจะทำรังในที่ต่ำตามพุ่มไม้ และในช่วงอับลม หรือฤดูร้อน ผึ้งจะทำรังบริเวณต้นไม้สูง ซึ่งมักจะมีรังผึ้ง หรือน้ำผึ้งมาก ในช่วงฤดูร้อน จึงเกิดคำเรียกกันว่า น้ำผึ้งเดือน 5 นั่นเอง

“น้ำผึ้งแท้ ” มีประโยชน์กับร่างกายมนุษย์ ในด้านต่างๆ ความเป็นธรรมชาติ ของมวลหมู่ ผึ้งขยัน จึงสะสมคุณประโยชน์ เป็นความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ ที่ทานแล้ว สบายใจ ขยับมาคุยกัน ดีสังเขป ของประโยชน์ ของ น้ำผึ้ง อาทิ ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย/ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย/ช่วยลดและป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย/ ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ดูมีน้ำมีนวลเป็นธรรมชาติ/ พอกหน้าด้วยน้ำผึ้งช่วยบำรุงผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์/ บำรุงสมอง ช่วยในเรื่องของความจำ/ ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV และช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิวหนัง/ ช่วยบำรุงเส้นผมให้นุ่มสวยเงางาม / ช่วยบำรุงเสียงให้ใส ลดอาการเจ็บคอ เป็นต้น

น้ำผึ้งป่าไพรภิรมย์: น้ำผึ้งป่าแท้ มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ ที่บ่งบอกถึงความเป็นน้ำผึ้ง คือ ลักษณะขวดเป็น “รังผึ้งทรงกลม” น่ารัก น่าคิดถึง มวลหมู่ผึ้ง แสนขยัน จึงเป็นขวดที่มีรูปลักษณ์ เข้ากับน้ำผึ้งรสหวานหอม ขนาดบรรจุ กำลังดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป 500 ml. ของดี แบบนี้ ต้องลอง…..และจะให้ดีขึ้นอีก ช้อปไปฝาก มิตรสหาย ย่อมได้ใจ ว่า มาของดีๆ มาฝาก อีกด้วยนะ…………..

—————————————————————–

ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ กันได้….ในตอนต่อไป
….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *