“อำเภอน้ำพอง : น้ำพอง ไหลหล่อเลี้ยงชีวิต กว่า 275 กม.”

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #14 : อำเภอน้ำพอง:น้ำพอง ไหลหล่อเลี้ยงชีวิต กว่า 275 กม.

( อำเภอลำดับที่ 13 ใน 26 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น )

พบกันทุกวันเสาร์ : เป็นเรื่องเล่า เรื่องราว ของ “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ ชีวิตของผู้คน สินค้า และภูมิปัญญา ในพื้นที่ 26 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น

อำเภอน้ำพอง มีประวิตศาสตร์ความเป็นมา ที่สันนิฐานกันว่า เป็นจุดรวมของชุมชนแรก ที่อพยพมาตั้งรกราก และขยาย กลายเป็นบรรพบุรุษ ของชาวขอนแก่น ชื่อนี้ มีที่มา คือ “ลำน้ำพอง” เส้นเลือด อีกเส้นที่สำคัญ ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตและชุมชน รวมทั้งเป็นเส้นทางสำคัญทางพุทธศาสนา และเป็นที่มาของ ชื่อ เมือง “ขามแก่น” แปรมาเป็น “ขอนแก่น” ในปัจจุบัน

ลำน้ำพอง มีต้นกำเนิดมาจาก “น้ำตกขุนพอง” บนยอดเขา “ภูกระดึง” แห่งเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหล เอือ ขดเคี้ยว ระยะทางของสายน้ำ ราว 275 กิโลเมตร ผ่าน อำเภอชุมแพ- อำเภอภูเวียง-อำเภอน้ำพอง และ อำเภอเมือง จากนั้น ไหลลงไปรวมเป็นลำน้ำสายเดียว กับ “แม่น้ำชี” ลิ่วล่อง ลำน้ำ เป็น “แม่น้ำมูล” ไหลหลอม ลงสู่ “แม่น้ำโขง” แดนดินถิ่นอีสาน จึงมี แม่น้ำ สายสำคัญ คือ โขง-ชี-มูล

“อำเภอน้ำพอง” มีชื่อเดิม คือ “อำเภอท่าหว้า” ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2450 และเปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบัน เมื่อ ปี 2542 มีพื้นที่ 828.7 ตารางกิโลเมตร ระยะทาง ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นราว 43 กิโลเมตร

ชวน คุณๆ มารู้จัก “อำเภอน้ำพอง” กับประวัติความเป็นมา กว่า 2,000 ปี อิ่มใจ ไปด้วยกัน นะ…..

พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานคู่บ้าน คู่เมือง ของจังหวัดขอนแก่น “บ้านขาม” สันนิฐานกันว่า เป็นเมือง ในยุคสมัยโบราณ กว่า 2000 ปี ราว พ.ศ 500 “พระธาตุขามแก่น” มีหลายตำนาน ที่เล่าขานกัน ดังนี้

ตำนานที่หนี่ง และตำนานที่สอง เป็นการเล่า คล้ายคลึงกันคือ นับแต่การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการนำพระบรมสารีริกธาตุ ไปประดิษฐานไว้ในที่ต่างๆ เพื่อให้ชาวพุทธ ได้บูชา ครั้นเมื่อเดินทางมาถึงพื้นที่แห่งหนึ่ง (ที่ตั้งของพระธาตุขามแก่นในปัจจุบัน) มี ต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้ว เหลือแต่แก่น อยู่ต้นหนึ่งขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี จึงมีการพักแรม และนำ “พระอังคารธาตุ” วางพักไว้บนแก่นของต้นมะขามนั้น พอรุ่งเช้าทั้งคณะก็เดินทางมุ่งหน้าสู่ สถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนม แต่เมื่อ พบว่า “พระธาตุพนม” ได้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำพระอังคารธาตุบรรจุลงไปได้อีก จึงจำต้องนำกลับตามเส้นทางเดิม เมื่อมาถึงจุดพักแรม ครั้งก่อน จึงได้เห็นว่า ต้นมะขามใหญ่ที่ล้มตายเหลือแต่แก่นนั้นกลับผลิตดอก ออกผล แตกกิ่งก้านสาขามีใบเขียวชะอุ่ม แลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วยเทพแสร้งนิมิต หรือด้วยอำนาจอภินิหารของพระอังคารธาตุ ก็มิอาจรู้ได้ เห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้น จึงพร้อมใจกันก่อสร้าง พระธาตุครอบต้นมะขาม และบรรจุพระอังคารธาตุของพระเจ้าไว้ภายใน นับเนื่องสืบมา

ตำนานที่สาม แต่เดิม ณ ที่แห่งนี้ เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาหักล้างถางพง จับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนั้น ชาวบ้านพบว่ามี ตอมะขามที่ตายแล้ว เหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง แต่กาลต่อมา ปรากฏว่าแก่นมะขามนั้นกลับมีการแตกใบ ผลิดอก ดูแปลกประหลาด และพบว่าหากมีใครที่ไปทำการใด ที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่ตอมะขามนั้น คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป ชาวบ้านจึงเกิดความเคารพบูชา และร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นไว้ พร้อมกับบรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 ประการ ไว้ในนั้นด้วย จึงเรียกเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า “พระเจ้าเก้าพระองค์” หรือ “เจดีย์บ้านขาม” ต่อมาจึงเป็น พระธาตุขามแก่น

”เคน ยงลา” หมอยาบ้านโคกสง่า จึงได้คิดหางานการแสดง เพื่อเป็นกิจกรรม งานเร่ และดึงดูดคนให้มาดู และเป็นการขายสินค้า ในคราวเดียวกัน แทนที่จะต้องเดินไปขายยาในทุกๆ หมู่บ้านเช่นเคย ปรากฏว่า สามารถเรียกคนให้มาตื่นตา ตื่นใจกันได้ดี แต่ต้องเปลี่ยน จาก ”งูเห่า” เป็น “งูจงอาง” และมีการถ่ายทอดวิชาการแสดงนี้ให้คนในหมู่บ้าน ปัจจุบันการแสดงงูจงอางบ้านโคกสง่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจะเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้าน การจัดแสดง เช่น ละครงูตามจังหวะเพลง การชกมวยระหว่างคนกับงูจงอาง เป็นจุดขายเชิงการท่องเที่ยว อีกจุด ที่มักจะถูกบรรจุ ไว้ในโปรแกรมการท่องเที่ยวอีกด้วย

กู่ประภาชัย (กู่บ้านนาคำน้อย) สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ภายในเป็นที่ตั้งของกู่ประภาชัย หรือชาวบ้านเรียกกว่า กู่บ้านนาคำน้อย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานเมื่อปี 2478 อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 57 กิโลเมตร กู่ ในภาษาอีสานนั้น หมายถึง ปราสาท

กู่ประภาชัย มีลักษณะแผนผังเป็นอโรคยาศาลา สร้างจากหินศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ราวพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1720-1780) ภายในบริเวณประกอบด้วย ปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขยื่นทางด้านหน้า เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า “บรรณาลัย” ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว โดยมีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าออกด้านหน้าหรือทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงมีสระน้ำ เชื่อกันว่าน้ำในสระเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในอดีตนั้นมีเรื่องเล่าขานกันมาว่า ช่วงเดือนเมษายน หรือเดือนห้า จะมีการประกอบพิธีโยงสายสิญจน์รอบบ่อน้ำ พระสงฆ์ 9 รูป 9 วัด สวดเจริญพระพุทธมนต์ในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 5 ประจำทุกปี และ สรงน้ำรอบปราสาท โดยประชาชนสามารถ ตักน้ำในสระกลับบ้านได้ “สระน้ำศักดิ์สิทธิ “แห่งนี้ เป็น หนึ่งในสระน้ำที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

สินค้า จากอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ที่วางจำหน่ายภายในศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าโอทอป ขอนแก่น อาทิ

เสือ….ยิ้ม แสนอร่อย
ฟังชื่อแล้ว เดาไม่ออก ว่า เป็นสินค้า อะไร…ใช่ไหม…
มันคือ “ถั่วตัด” ที่อร่อย ได้ 3 แบบ ตามที่ชอบ…

ถั่วตัดมะตูม บรรจุ แบบกล่อง แบ่งรับประทานได้ หวาน กรอบ และหอมงาขาว หรือจะนำไปทำน้ำจิ้มถั่วตัดก็อร่อยมาก

เม็ดมะม่วงหิมพานต์กรอบแก้วเคลือบหวาน ฉาบงาขาว บรรจุกระปุกสะดวกต่อการพกพา

ถั่วกรอบแก้วเคลือบหวาน ฉาบงาขาว หอม หอมหอม บรรจุกระปุกสะดวกต่อการพกพา สูตรเดียวกับ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อร่อยเลือกได้

——————————————————————————
ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ กันได้….ในตอนต่อไป
….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *