“บ้านแฮด : พญาแรด เพี้ยนเสียง แต่…คือ ชุมชนเดียวกัน”

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #8 : บ้านแฮด : พญาแรด เพี้ยนเสียง แต่…คือ ชุมชนเดียวกัน

( อำเภอลำดับที่ 7 ใน 26 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น )

พบกันทุกวันเสาร์ : เป็นเรื่องเล่า เรื่องราว ของ “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ ชีวิตของผู้คน สินค้า และภูมิปัญญา ในพื้นที่ 26 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น

“อำเภอบ้านแฮด” เป็นคำเพี้ยนเสียงมาจาก คำว่า แฮด หรือแรด ตามคำบอกเล่าจาก แม่ใหญ่-พ่อใหญ่ หรือผู้สูงวัย ในหมู่บ้านว่า ในยุคดั้งเดิมของการ ก่อตั้งชุมชนนั้น พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่านานาชนิดจำนวนมาก

และต่อมาได้มีชาวบ้านมาปลูกบ้านเพื่ออยู่อาศัยใกล้หนองน้ำ อยู่มาวันหนึ่งซึ่งเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ มีสัตว์จำพวก “แฮด” เป็นภาษาอีสาน หมายถึง “แรด” ในภาษากลาง ลงมากินน้ำที่หนองแห่งนี้ ซึ่งแปลกมากเพราะไม่มีสัตว์ชนิดอื่นๆ ลงมากินน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้เลย ชาวบ้านแถวนั้นจึงขนานนามว่า “ซำแฮด” หรือ“แฮด” มาจนถึงวันนี้…..

“อำเภอบ้านแฮด” ห่างจากตัวอำเภอเมืองขอนแก่นเพียง 37 กิโลเมตร และมีพื้นที่ราว 205 ตารางกิโลเมตร มีโรงพยาบาล ที่มีความพรอมด้านสาธารณสุข และได้รับรางวัลมาแล้ว หลายรางวัล คือ โรงพยาบาลสิรินธร อุ่นใจ ใกล้หหมอ หลังจากรู้จักประวัติ เบื้องต้น ของ อำเภอบ้านแฮด เป็นอำเภอเล็กที่น่ารัก กันแล้ว ไปต่อ กันเถอะ…

ศาลปู่ขุนทึงพญาแรด: สิ่งศักดิ์สิทธ์ประจำอำเภอบ้านแฮด จากตำนานการเล่าขานของการมี “แรด” ฝูงใหญ่อาศัยอยู่ในหนองน้ำกลางหมู่บ้าน และกลายเป็นผู้ปกปักษ์รักษาชุมชน ให้ร่มเย็น ต่อมาจึงมีการจัดงานประเพณีบวงสรวง ในทุกวันพุธที่สองของเดือนหก ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น เพื่อเป็นการบวงสรวงขอพร ก่อนฤดูเพาะปลูก นับเป็นพลังศรัทธา ให้สมาชิก ในชุมชน ทุกคน

บ้านหนองมะเขือ: เป็นชุมชน นวัตวิถี มีศิลปะ วัฒนธรรม โชว์ความพร้อมเพียง ของสาวๆ คือ การ “ฟ้อนรำ” ยามมีนักท่องเที่ยวมาเยือนยาม จากนั้นมีกิจกรรม การสาธิต การทอผ้าซึ่งมีลายเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม คือ ลายเกร็ดเต่า กลุ่มจักรสาน กลุ่มทอเปล และมีตลาดให้พวกเราได้เลือกซื้อสินค้า ติดไม้ติดมือกลับบ้านไปได้อีกด้วย

หัวผักกาด ป็นพืชล้มลุก ปลูกแซม หลังฤดูเก็บเกี่ยวนาข้าว ประจำปี ไปแล้ว เกษตรกร จะปลูกหัวผักกาด ราวเดือนตุลาคม อากาศเย็นๆ ของช่วงฤดูหนาว ใช้เวลาเติบโต ราว 40-50 วัน ต้นโตเต็มที่ ผลอวบอิ่ม เก็บเกี่ยวได้ราว กลางเดือนธันวาคม เป็นต้นไป จนถึง ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ุ ก่อนเข้าหน้าร้อน ผลผลิตต่อปี มีมากราว 200-250 ตัน ช่องทางจัดจำหน่าย คือ ส่งตรงเข้าโรงงานผลิตหัวผักกาดกระป๋อง/หัวไชโปว และตลาดสด ทั่วไป

—————————————————————————

สินค้าจากอำเภอบ้านแฮด ที่มีจำหน่ายภายในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น ได้แก่ น้ำพริกแม่ละเมียด

น้ำพริกแม่ละเมียด: เป็นความละเมียด ละมัย ของส่วนผสม สูตร ตามตำราของน้ำพริกที่ถูกปากคนไทย กินข้าวกับน้ำพริก ซะจ๊ะ…เจ้านี้ เขามีหลากหลายรสชาติให้เลือกซื้อ เช่น น้ำพริกแมงดา น้ำพริกตาแดง น้ำพริกปลากรอบ น้ำพริกปลาร้า หรือ แจ๋วบอง ที่มีกลิ่นสมุนไพร ครบเครื่อง ข่า ตระไคร้ ใบมะกรูด กับข้าวสวยร้อนๆ ผักสด ผักต้ม ตามใจชอบ

————————————————

ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ กันได้….ในตอนต่อไป
….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *