“Smart City” เมืองขอนแก่น…เติบโตได้ เพราะ สถาบันการศึกษา ตอนที่ 2

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #2.1 : “Smart City” เมืองขอนแก่น…เติบโตได้ เพราะ สถาบันการศึกษาตอนที่ 2

พบกันทุกวันเสาร์ : เป็นเรื่องเล่า เรื่องราว ของ “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ ชีวิตของผู้คน สินค้า และภูมิปัญญา ในพื้นที่ 26 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น

จากความเดิม ซี่รี่ย์ #2 : เมืองขอนแก่น…เติบโตได้ เพราะ สถาบันการศึกษา

เราได้พาทุกท่านไปรู้จักกับ โรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ไปแล้ว

วันนี้เรายังคงอยู่กับอำเภอเมือง และจะพาทุกท่านไปรู้จักกับการเป็น “Smart City” ของขอนแก่น; เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ด้วยความทันสมัย รัฐบาลจึงกำหนด เป็น 1 ใน 7 เมืองของประเทศไทย (ได้แก่ กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ที่มีการทดลอง การใช้ระบบ 5G คนขอนแก่น จะได้รับประโยชน์ เรื่องของการใช้เทคโนโลยี ในชีวิตประจำวัน สื่อสารได้รวดเร็ว คล่องตัว และธุรกิจการค้า ประกอบการมีพัฒนาการ ที่ เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้กับ ไร่นา พืชสวน ได้อีกด้วย

“Smart City” ของขอนแก่น มีส่วนผสมในการใช้งาน ของคำว่า Smart ด้านใด ได้บ้าง…

Smart Environment : ขอนแก่นมีโรงเผาขยะที่ไม่สร้างมลพิษ และสามารถแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการรับขยะจากชุมชน เป็นโรงงานไฟฟ้าเตาเผาระบบปิด เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เผาที่อุณหภูมิ สูงถึง 850 – 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อให้การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์

Smart Living : โครงการ Khon Kaen Smart Health ได้รับรางวัลโครงการเมืองอัจฉริยะยอดเยี่ยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (SCAPA) ประจำปี 2561 ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่สำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมมือกับจังหวัดขอนแก่น ผู้ให้บริการสาธารณสุข และมหาวิทยาลัย ในขอนแก่น โดยโครงการประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ

– รถพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Ambulance) ที่ใช้เทคโนโลยีการประชุมทางไกล และเทคโนโลยี โรโบติกส์ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน และช่วยให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นหรือเริ่มกระบวนการรักษาฉุกเฉินได้ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึงโรงพยาบาล
– บริการด้านสุขภาพเชิงป้องกัน จาก สายรัดข้อมืออัจฉริยะ (Smart Wristband) ระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) เพื่อจัดเก็บข้อมูลเชิงสุขภาพ และให้คำแนะนำสุขภาพกับประชาชน
– พัฒนาระบบ เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) เพื่อวิเคราห์ big data เพื่อจะเป็นประโยชน์ ต่อการแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์ที่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถเข้าถึง

Smart Mobility : เปลี่ยนเมืองสู่ เมืองอัจฉริยะโดยระบบขนส่งมวลชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดระดับสากล โดยขอนแก่นตอนนี้พัฒนาถึง 3 ระบบขนส่งด้วยกัน
รถไฟฟ้ารางเบา (LRT) เริ่มดำเนินการสร้างภายในปี พ.ศ.2564 เป็นการปรับโครงสร้างเมือง  ให้เกิดการคมนาคมที่สะดวกขึ้น เหมาะสมต่อการลงทุน จะก่อเกิดเม็ดเงินที่จะหมุนเวียนเข้าสู่เมือง
– โครงการรางสร้างเมือง-รางสร้างไทย โดยมี K-City ของประเทศเกาหลีเข้ามาร่วม โดยกำลังทำการศึกษา ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการออกแบบแผนธุรกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ชุมชน กิจกรรมเชิงพาณิชย์ และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรอบบึงแก่นนคร โดยเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ‘รถแทรมน้อย’ ซึ่งได้รับมอบมาจากเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น
ขอนแก่นซิตี้บัส ให้บริการ ตลอด 24 ชม. จาก บขส.3 และสนามบิน ประชาชนทั่วไป 15 บาท และนักเรียน/นักศึกษา 10 บาท ตลอดสาย และยังมี WIFi กล้องวงจรปิด และแอร์ให้นั่งเล่นได้อย่างสะดวกสบาย พร้อมทั้งยังอีแอพพลิเคชั่นในการติดตาม ตำแหน่งของรถอีก

Smart Economy : เป็นโครงการฟื้นฟู ย่านเก่าให้เป็นศูนย์กลางเมืองอย่างสร้างสรรค์
– โครงการฟื้นฟูย่านเก่าให้เป็นศูนย์กลางเมืองสร้างสรรค์เพื่อรองรับคนรุ่นใหม่ (Creative District) ภายใต้ชื่อโครงการศรีจันทร์ซอดแจ้ง Walking Street โดยช่วงกลางวัน จะเป็นร้านค้าดั้งเดิมแบบถาวรเปิดบริการ และในช่วงกลางคืน ร้านค้าชั่วคราวประเภท รถเข็น แบกะดิน ตั้งบนฟุตบาท เปิดแผงจำหน่ายสินค้า
Smart Farming ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัด โดยผสานกับ Smart Energy เช่น ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้ในการเกษตร
หอประชุมนานาชาติ KICE เพื่อตอบโจทย์การเป็นเมืองแห่งการประชุมและสัมมนา (Mice City) ซึ่งมีพื้นที่ภายใน ใช้สอย มากถึง 7,510 ตาราง

Smart People : โดยชาวขอนแก่นได้ใช้วิธีการ บูรณาการแนวคิดโดยใช้คนรุ่นใหม่ของเมืองมาระดมความคิดกัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จนตกตะกอนออกมาเป็น 43 นวัตกรรม

Smart Government : ปรับแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพัฒนาจังหวัด Smart City Solution จาก 6 ด้าน เป็น 7 ด้าน (เพิ่ม Smart Energy )

– แอปพลิเคชั่น EPAM ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่น สำหรับการประชุมออนไลน์ของจังหวัด โดยปราศจากการใช้กระดาษ

จากเดิมโดยทั่วไปแล้วการเป็น “Smart City” จะประกอบไปด้วย 6 ด้าน ด้วยกัน แต่การเป็น “Khon Kaen Smart City” นั้นจะมีการเพิ่ม ความเป็น Smart Energy เข้ามาคือ : อาคารต้นแบบอนุรักษ์พลังงาน ที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building)

เหล่านี้คือเส้นทางการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้ก้าวสู่สมาร์ตซิตี้ ที่คนขอนแก่นได้ก้าวไปพร้อมๆ กัน

ฟัง…อ่าน…แล้วเหมือนฝันๆ …… แต่ อนาคต ของเมืองขอนแก่น ไม่ผิดไปจากนี้ นักดอกนะ….….

ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“กันได้….ในตอนต่อไป

….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *