วัดดัง…”ช้างกระ”กล้วยไม้งาม….แห่งมัญจาคีรี

คอลัมภ์ประจำ : พบกันทุกวันเสาร์

(เริ่ม เสาร์ที่ 08 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น บริหารงาน โดย บริษัท ขอนแก่น โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด มีการปรับปรุงศูนย์ฯ ภายใต้แนวคิดของ““ขอนแก่นโมเดล” คือ ภาครัฐ ร่วมกับ ภาคเอกชน เพื่อการบริหารจัดการ ที่คล่องตัว และคงไว้ซึ่งหลักการ “ธรรมาภิบาล”อย่างมั่นคง อันจะส่งผลดี ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บังเกิดความยั่งยืน ต่อบ้านเมือง สืบไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น เปิดทำการ โฉมใหม่ หลังจากที่มีการปรับปรุง ด้วย “ขอนแก่นโมเดล” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  2563

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ซี่รี่ย์ #10 : วัดดัง…”ช้างกระ”กล้วยไม้งาม….แห่งมัญจาคีรี

( อำเภอลำดับที่ 9 ใน 26 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น )

พบกันทุกวันเสาร์ : เป็นเรื่องเล่า เรื่องราว ของ “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ ชีวิตของผู้คน สินค้า และภูมิปัญญา ในพื้นที่ 26 อำเภอ ในจังหวัดขอนแก่น

อำเภอมัญจาคีรี นับเป็น อำเภอเก่าแก่ ที่มีการตั้งเป็นอำเภอเมื่อ ปี พ.ศ. 2445 หรือราว 119 ปีก่อน ชัยภูมิอยู่บนที่ลาดต่ำของ “ภูเม็ง” คำว่า “เม็ง” แปลว่า เตียง เป็นภาษาพื้นเมือง และได้เปลี่ยนคำมาเป็นภาษาบาลี ว่า “มัญจา” จึงแปลความหมายว่า เมืองที่มีภูเขารูปเตียง ซึ่งบน ภูเขาเม็ง มีก้อนหินใหญ่รูปร่างลักษณะคล้าย เตียงนอนยังปรากฎให้เห็น มาจนถึงวันนี้

อำเภอมัญจาคีรี เป็น อำเภอที่ลูกศิษย์ “หลวงปู่ผาง” รู้จัก คุ้นเคยกันอยู่แล้ว วันนี้ เราเลยจะพาทุกท่านไปรู้จักอำเภอนี้ ให้มากขึ้นไปอีก ตามมาอ่านกันเลย……

วัดอุดมคงคาคีรีเขต: หรือรู้จักในนาม วัดหลวงปู่ผาง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโคก เป็นวัดป่าของหลวงปู่ผาง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ เป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านมรณภาพไปแล้ว เมื่อปี 2519 และยังมีอนุสรณ์สถานที่ บรรจุอัฐิของท่าน อยู่ภายในบริเวณวัด วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา มีต้นไม้ป่ามากมาย บรรยากาศร่มรื่น เป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติ วิปัสสนา

อุทยานกล้วยไม้ป่าช้างกระ: ห่างจากตัวอำเภอมัญจาคีรี 1 กิโลเมตร มีต้นกล้วยไม้พันธุ์ “ช้างกระ” ขึ้นเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก ตามธรรมชาติ ต้นไม้เหล่านี้ มีอายุหลายร้อยปี จำนวนราว 280 ต้น กล้วยไม้ ช้างกระ มีจำนวนมากกว่า 4,000 ต้น ตามฏดูกาลจะเริ่มออก ช่อดอกในราวเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ของทุกปี ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ไปทั่วบริเวณ

ทาง อำเภอมัญจาคีรี กำหนดวันงานประจำปี ไว้ คือ วันที่ 17 – 20 มกราคมของทุกปี เปิดโอกาส ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชมความงามของ กล้วยไม้ป่าพันธุ์ช้างกระซึ่งอยู่ภายในบริเวณ อุทยานวัดป่ามัญจาคีรี ความมหัศจรรย์ของความงามตามธรรมชาติ ที่าชมได้ยากเช่นนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย-ททท. จึงตั้งฉายา ให้เป็น Unseen- สถานที่ท่องเที่ยวที่มีเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย….

วัดป่าคำแคนเหนือ: หรือ รู้จักกันในชื่อ “เจดีย์บนหลังเต่า” เป็นวัดที่โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ อันเป็นที่มาของคำว่า “ธรรมะ คือ ธรรมชาติ” พระนักปฎิบัติส๋วนใหญ่จึงมักออกธุดงค์ในป่าเขา บริเวณนี้ เกจิอาจารย์ อันที่เคารพนับถือ “หลวงปู่มหาโส กัสสโป” ท่านบำเพ็ญธรรม หาความสงบ และไม่เคยเดินทางไปสู่สังคมทางโลกอีกเลย จุดเด่นของวัดนี้ คือ ที่เจดีย์บนหลังเต่า จะสามารถชมวิว ธรรมชาติได้รอบ 360 องศา

หมู่บ้านเต่า: เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งราว พ.ศ.1767 หรือ เมื่อ 797 ปีก่อน มีความเชื่อว่าที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นที่สถิตของ “เจ้าปู่ฟ้าระงึม” หรือ”เจ้าปู่มเหศักดิ์” ซึ่ง มีเต่าเป็นสัตว์เลี้ยง คนในหมู่บ้านกับเต่าจึงอยู่ร่วมกันเสมอมา บ้างก็จะคลานตีวมเตี๊ยม….อยู่บริเวณใต้ถุนบ้าน เพื่อรออาหารจากชาวบ้าน บ้างก็เดินอยู่ตามถนน ภายในหมู่บ้าน ซึ่งจะพบพวกเขาได้ไม่ยาก การจราจร จึงต้องเพิ่มความระมัดระวัง พวกเขาด้วย เมื่อเข้าเขตหมู่บ้าน ซึ่งมีอยู่ประมาณมากกว่า 2,000 ตัว ทำให้อาหารในบริเวณดอนเต่ามีไม่เพียงพอ เต่าจึงออกหากินตามหมู่บ้านใกล้เคียง โดยไม่มีใครกล้าทำอันตรายเต่าเหล่านี้ เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่าเคยมีคนจับเต่าไปต้มกิน ทำให้อาเจียนเป็นโลหิตและตายในทันที ชาวบ้านจึงยึดถือเป็น ประเพณีไม่ทำร้ายเต่า คนกับเต่า จึงอยู่ร่วมกัน และเป็นจุดขาย ของการท่องเที่ยวได้อีกด้วย

ไหมอีรี่ บ้านหนองหญ้าปล้อง : ฬผลงานวิจัย ที่นำมาสู่ภาคปฏิบัติ เป็นหนอนไหมที่กินใบมันสำปะหลัง จึงพ่นเส้นใยที่แตกต่างไปจากหนอนไหม ที่กินใบหม่อน ไหมอี่รี่ มีเส้นใยสั้นกว่า มีความวาวน้อยกว่า ไหมชนิดอื่นๆ มีลักษณะคล้ายเส้นใยฝ้าย แต่เหนียวมากกว่า ซับน้ำได้ดี มีความนุ่มพิเศษ เมื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าจะหนานุ่มคล้ายผ้าขนสัตว์ ดูดซับเหงื่อ และ ระบายอากาศได้ดี สวมใส่แล้วรู้สึกอบอุ่นในฤดูหนาว และเย็นสบายในฤดูร้อน บ้านหนองหญ้าปล้อง ได้มีการทอเส้นใยเป็นลวดลายต่างๆ อาทิ ทุ่งหญ้า หนองน้ำ และไร่ข้าว ที่สื่อถึง วิถีชุมชนและความพอเพียง ทุกกระบวนการผลิต ไม่มีการใช้สารเคมี…จึงเป็นเสน่ห์ ที่เชิญชวน นักท่องเที่ยว ให้ได้ไปสัมผัสกันสักครั้ง .

—————————————————————————

สินค้าจาก อำเภอมัญจาคีรี ที่มีจำหน่าย
ภายในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า OTOP ขอนแก่น ได้แก่

“เมษาปลาร้านัว”: จากสูตรปลาร้าของแม่ ที่ถ่ายทอดมายังคนอีกรุ่น ผ่านการปรับสูตรให้เหมาะกับยุคสมัย จึงเป็น “ปลาร้าอินทรีย์” ถูกใจคอปลาร้าสายรักสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา มีให้เลือกใช้ 2 แบบ ตามถนัด คือ

แบบที่ 1 คือ ปลาร้าแบบน้ำ คุ้นๆ ที่กิน ที่ทำกันมาของรุ่น ย่า ยาย แม่ เป็นปลาร้าปรุงสุก วัถุดิบจากธรรมชาติ ไม่มีผงชูรส

แบบที่ 2 คือ ปลาร้าแบบผง ดูทันสมัย ขึ้นมาอีกระดับ สูตรโซเดียมต่ำ สามารถพกพาสะดวก บรรจุซอง มีซิป เปิด-ปิด น่ากิน น่าอวด

ติดตาม “ชีวิตและสินค้า –Life & Products“ กันได้….ในตอนต่อไป
….พบกัน เสาร์ หน้า ว่าเราจะพาไปรู้จัก จังหวัดขอนแก่น ในแง่มุม ไหน อีก นะ..นะ..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *